เบลี M2



   เป็นสะพานโครงแผงเหล็ก ยาว 10 ฟุต/แผงวางต่อๆกัน พาดบนเครื่องรองรับ และมีคานเหล็กยึดอยู่บน
ส่วนล่างของโครงแผง มีตงเหล็กวางบนคาน พื้นไม้ สามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 4 - 85 ตัน ในระยะทอด 
ไม่เกิน 170 ฟุต( 51.82 m. )
   สะพานชนิดนี้เป็นสะพานนอกจากจะมีใช้ใน ทบ. แล้ว หน่วยงานภาครัฐอื่น เช่น กรมทางหลวง , กรมบรรเทาสาธารณภัย ยังมีใช้อยู่

การใช้เครื่องจักรช่วยยกต่อโครงแผง


ลูกกลิ้งเลื่อนคาน  ( TRANSOM ROLLER ) ทั้ง 2 ตัว ต้องวางให้ได้ระดับเท่ากันในพื้นที่ตั้งที่แข็งแรง





ตัวสะพานสามารถสร้างต่อด้านหัวและด้านท้ายสะพานได้ 




วิธีการประกอบสร้าง



     1.ใช้กำลังพลในการสร้างโดยการยกชิ้นส่วนสะพานประกอบสร้างเป็นโครงแล้วดันตัวโครงไปบนลูกกลิ้งเลื่อนคาน  ( Transom roller ) และลูกกลิ้งรายทาง ( plain roller ) เมื่อสะพานถึงฝั่งไกลแล้วถึงจะทำการวางชิ้นส่วนสะพานในส่วนอื่นๆจนเสร็จ ซึ่งในกรณีนี้ความเร็วในการสร้างสะพานจะสัมพันธ์กับความชำนาญและจำนวนแรงงานที่ใช้ในการสร้าง 

     2.ใช้กำลังพลกับเครื่องจักรในการสร้าง     ซึ่งเครื่องจักรได้แก่  รถโกยตัก หรือ รถปั่นจั่น โดยการสร้างจะใช้เครื่องจักรยกชิ้นส่วนสะพานมาวางบนลูกกลิ้ง เลื่อนคาน (Transom roller) และลูกกลิ้งรายทาง ( plain roller) 
ซึ่ง จะช่วยในการประกอบได้อย่างรวดเร็ว เสร็จแล้ว ดันตัวโครงไปบนลูกกลิ้ง เมื่อสะพานถึงฝั่งไกล แล้วจึงค่อยวางชิ้นส่วนอื่นๆ  จนเสร็จ

ขีดความสามารถ


สำหรับสะพานเบลี ที่แจกจ่ายหน่วย ช.สามารถจะประกอบสร้างได้ รูปแบบ ดังนี้






1. การสร้างแบบ โครงเดี่ยว-ชั้นเดียว  single-truss,single-story ( SS )รับนน.ได้ 8-30 ตันมีความกว้างจราจร 150 นิ้ว ( 3.81 ม.) ยาว 30-100 ฟุต




2. การสร้างแบบ โครงคู่-ชั้นเดียว  double-truss,single-story ( DS )รับนน.ได้ 8-75 ตันมีความกว้างจราจร ( 3.81 ม.) ยาว 50-140  ฟุต.


3. การสร้างแบบ โครงสาม-ชั้นเดียว  Triple-truss,single-story ( TS )รับนน.ได้ 4-85 ตันมีความกว้างจราจร ( 3.81 ม.) ยาว 80-170 ฟุต.


โครงแผง ( panel) ของสะพาน เบลี m2 เป็นส่วนสำคัญในการรับน้ำหนักตัวสะพานและน้ำหนักบรรทุก

ตารางแสดงการรับน้ำหนักของรูปแบบการสร้างสะพาน เบลี M2 ในความยาวระยะต่างๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น