เป็นสะพานที่มีประจำการใน ทบ.ไทย ที่มีขีดความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุก เมื่อเทียบกับความยาว
ในการประกอบสร้าง ทั้งในรูปแบบ สะพานเครื่องหนุนมั่น หรือสะพานเครื่องหนุนลอยแล้ว สะพาน M.G.B.
ถือว่าเป็นสะพานที่มีขีดความสามารถในการรับน้ำหนักดีที่สุดในการประกอบสร้างในช่วงความยาวที่เท่ากัน
ชิ้นส่วนของสะพานทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สังกะสี , แมกนีเซียม ,อัลลอย และ อลูมิเนียม ชิ้นม่วนที่หนักที่สุด
ไม่เกิน 200 kg. ซึ่งในรูปแบบการประกอบสร้างของสะพาน M.G.B. ใน 1 ชุด สามารถประกอบสร้างได้หลาย
รูปแบบ
ข้อจำกัดการสร้าง
- ตลิ่งฝั่งไกลและฝั่งใกล้ ต้องมีความแข็งแรง และไม่อยู่ในสภาวะน้ำกัดเซาะตลิ่งรุนแรง หากหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ให้ตอกเข็มแผ่ เพื่อเสริมความแข็งแรงตลิ่ง
การขนย้าย
1.ขนย้ายโดยยานยนต์ ส่วนใหญ่ใช้ในงานบรรเทาสาธารณภัย
2.ขนย้ายโดยยานยนต์ บรรทุกบนรถพ่วง โดย ชิ้นส่วนสะพานวางบน แผ่นรองยกสำเร็จ ( PALLET ) สามารถพ่วงในยานยนต์ล้อและรสพ.ได้
ขีดความสามารถ สามารถสร้างได้ 4 รูปแบบ
กรณีที่ 1
สะพานเครื่องหนุนลอยแบบโครงสองชั้น รับน้ำหนัก ได้ชั้น 70 ยาว 200 ม. ได้ 1 สะพาน
กรณีที่ 2
แพส่งข้ามขับเคลื่อนด้วยตัวเอง รับน้ำหนักชั้น 60 จำนวน 3 แพ และ สะพานเครื่องหนุนมั่นรับน้ำหนัก
ไม่เกินชั้น 60 ยาวไม่เกิน 49.4 ม. ได้อีก 2 สะพาน
สะพานเครื่องหนุนมั่น และ สะพานเครื่องหนุนลอย สร้างได้ 2 สะพาน เนื่องจาก สะพานM.G.B. ใน1 ชุด
จะมี คานตลิ่ง ( BANK SEAT BEAM ) เพียง 4 ตัว
กรณีที่ 3
สะพานเครื่องหนุนลอยแบบโครงสองชั้น รับน้ำหนัก ได้ชั้น 70 ยาว 150 ม. ได้ 1 สะพาน และสะพาน
เครื่องหนุนมั่นแบบเสริมความแข็งแรง ยาว 49.4 ม. ได้อีก 1 สะพาน
กรณีที่ 4
สะพานเครื่องหนุนลอยแบบโครงสองชั้น รับน้ำหนัก ได้ชั้น 70 ยาว 132 ม. ได้ 1 สะพาน กับ สะพาน
เครื่องหนุนมั่นแบบเสริมความแข็งแรง ยาว 49.4 ม. ได้อีก 1 สะพาน และแพส่งข้ามขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
รับน้ำหนักชั้น 60 จำนวน 1 แพ
วัสดุที่ใช้ผลิตทำสะพาน M.G.B. เป็นวัสดุเฉพาะ ไม่สามารถที่จะดัดแปลงนำวัสดุอื่นมาทดแทนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น